Information Technology Management [ ITM 51 ]
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

SAN กับ NAS ความแตกต่าง

2 posters

Go down

SAN กับ NAS  ความแตกต่าง Empty SAN กับ NAS ความแตกต่าง

ตั้งหัวข้อ  Bot Fri Mar 18, 2011 11:30 am

Storage Area Network ( SAN )

Storage Area Network หรือ SAN เป็นระบบโครงสร้างที่มีการเชื่อมต่อทางข้อมูลข่าวสารระหว่างกลุ่มของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ล้ำหน้า ที่จะช่วยให้สามารถจัดเก็บและดึงข้อมูลขนาดใหญ่ หรือปริมาณมหาศาล ออกมาใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และง่ายต่อการบริหารจัดเก็บข้อมูล ระบบของ SAN ไม่ใช่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของการจัดเก็บข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หมายความว่า SAN ไม่ได้อยู่ในเครือข่ายแลน แต่อยู่ด้านหลังของเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ โดยทำหน้าที่ดูแลการจัดเก็บ และปลดปล่อยข้อมูลเพื่อสนองตอบกลุ่มของเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งได้รับการร้องขอจากกลุ่มของไคลเอนต์บนเครือข่ายอีกทีหนึ่ง ดังนั้น SAN จึงไม่ใช่อุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่ง หรือคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง แต่เป็นระบบบริหารการจัดเก็บและดูแลกลุ่มของอุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูง โดยกลุ่มของอุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ มีการเชื่อมต่อกันทางด้านเครือข่ายก็จริง แต่ไม่ได้เชื่อมต่อผ่านทาง Switching Hub ธรรมดา แต่อาจเชื่อมต่อกันด้วยระบบ Fiber Channel Hub (Fiber Channel หมายถึงโครงสร้างการเชื่อมต่อสื่อสารข้อมูลแบบ 2 ทิศทาง เชื่อมต่อกันแบบจุดต่อจุด และสื่อสารข้อมูลแบบสวนทางกัน (Full Duplex) การไหลของข้อมูลเป็นแบบอนุกรม แต่เมื่อพูดถึงในแง่ทางกายภาพ แล้ว Fiber Channel ประกอบขึ้นด้วย อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลความเร็วสูง ตัว Switches Hub สายสัญญาณ ใยแก้วนำแสง รวมทั้งอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลอื่นๆ ที่มาเชื่อมต่อกับ ผ่าน N_Port และมีรูปแบบ Topology การเชื่อมต่อแบบ ระหว่างจุด (Point - to -Point) หรือแบบ Arbitrated Loop ) หรือ Switch หรือ เทคโนโลยีอื่น ๆ ที่กำลังจะมีมาในอนาคต


SAN สามารถให้ความยืดหยุ่นในการบริการจัดการกับระบบ รวมทั้งการจัด Configuration ซึ่งในที่นี้หมายถึง ความยืดหยุ่นสูงในการกำหนด ขนาดหรือลดขนาดการบรรจุเก็บข้อมูลข่าวสารของระบบ เราสามารถเพิ่มหรือลดจำนวนของเซิร์ฟเวอร์หรืออุปกรณ์จัดเก็บได้เต็มที่ โดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของ SAN นอกจากนี้ภายใต้ระบบ SAN สามารถมีเซิร์ฟเวอร์หลาย ๆ ตัว หรือเป็นจำนวนมาก ที่สามารถเข้ามา Access ใช้งานในกลุ่มของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ที่ดูแลภายใต้ SAN ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


งานที่เราจะนำ SAN มาใช้ ได้แก่

- ฐานข้อมูลที่ต้องการความเร็วสูงในการดึงข้อมูล อีกทั้งเสียหาย หรือสูญหายไม่ได้
- การจัดเก็บหรือการทำสำรองข้อมูลส่วนกลาง และสามารถดูแลจัดการได้โดยง่าย
- ต้องการประสิทธิภาพ และความสามารถในการกู้คืนข้อมูล
- การจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ มีปริมาณมาก
- การดึงข้อมูล หรือการจัดเก็บข้อมูลทุกประเภทที่ต้องการความเร็วสูงยิ่ง


Network-Attached Storage (NAS)

ในปัจจุบันนอกจากไฟล์เอกสารที่มีแต่ข้อความแล้วยังมีไฟล์รูปภาพกราฟิก หรือแม้แต่ข้อมูลวิดีโอซึ่งต้องการใช้เนื้อที่ในการเก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์จำนวนมาก วิธีแก้ทางหนึ่งก็คือการใช้ Network-Attached Storage(NAS) ในระบบเน็ตเวิร์กภายในองค์กร

Network-Attached Storage (NAS) เป็นวิธีที่ง่ายในการเพิ่มอุปกรณ์เก็บข้อมูลให้กับเน็ตเวิร์กขององค์กร โดยที่ NAS ไม่ได้มีความสามารถในการประมวลผลพิเศษ แต่ว่า NAS เป็นทางเลือกที่นอกเหนือจากการใช้ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ โดยที่มีราคาถูก และง่ายต่อการใช้มากกว่า ทั้งนี้นอกเหนือจากราคาของระบบที่ถูกกว่าการใช้ไฟล์เซิร์ฟเวอร์แล้ว ระบบ NAS นี้ยังสามารถติดตั้ง ใช้งาน และดูแลได้ง่ายโดยใช้ส่วนติดต่อกับผู้ใช้ผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ผู้ดูแลระบบเน็ตเวิร์กสามารถตรวจสอบ และดูแล NAS ได้โดยใช้ซอฟต์แวร์จัดการที่ทำงานบนเว็บบราวเซอร์ได้ทันที


NAS นั้นเปรียบเสมือนกับว่าเป็นระบบไฟล์เซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ มีการเข้าถึงทำงานแบบไฟล์บนเซิร์ฟเวอร์โดยไคลเอ็นต์ หรือเวิร์กสเตชันผ่านทางเน็ตเวิร์กโพรโตคอลเช่น TCP/IP และผ่านทางแอพพลิเคชันเช่น NFS (Network File System) หรือ CIFS (Common Internet File System) ทำให้ไคลเอ็นต์ที่เชื่อมต่ออยู่บนระบบเน็ตเวิร์กสามารถแลกเปลี่ยนไฟล์กันได้ และการเข้าถึงไฟล์ข้อมูลนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการเชื่อมต่อซึ่งมีอยู่ภายในไคลเอ็นต์อยู่แล้ว โดยโครงสร้างของ NAS นั้นเน้นการให้บริการด้านไฟล์ ดังนั้นจึงช่วยให้การจัดการเข้าถึงไฟล์สามารถทำได้ด้วยความรวดเร็ว

NAS จะส่งข้อมูลในปริมาณที่ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับ SAN และต้องใช้ช่วงเวลาน้อยกว่าอีกด้วย โดย LAN / WAN จะมีการบังคับแพ็กเก็ตขนาดใหญ่ให้แตกออกเป็นชิ้นย่อยในการส่ง ดังนั้นจำนวนแพ็กเก็ตยิ่งมากเท่าไรก็จะใช้ทรัพยากรเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือทำให้ซีพียูทำงานหนักขึ้นนั่นเอง จึงไม่เหมาะที่จะไว้รับส่งไฟล์ขนาดใหญ่มากๆ

นอกจากนี้ผู้ใช้สามารถตั้งโปรแกรมให้ NAS แบ็กอัพไดเรกทอรีหรือฮาร์ดดิสก์ของไคลเอ็นต์ได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ดีอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสำรองข้อมูลที่ลดความเสี่ยงในการสูญเสียข้อมูลให้น้อยลง

ความแตกต่างระหว่าง SAN และ NAS
SAN
* การเชื่อมต่อใช้เทคโนโลยี Fiber Channel ซึ่งสามารถมีระยะทางการเชื่อมต่อได้ไม่เกิน 10 กม.
* การส่งผ่านข้อมูลจะอยู่ในรูปแบบ ของบล็อกแพ็กเก็ต
* มักให้บริการกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์เป็นหลัก
* โปรโตคอลสื่อสารที่ใช้คือ SCSI
* ระดับความเร็วอยู่ที่ 1-2 Gbps
NAS
* การส่งผ่านข้อมูลจะอยู่ในรูปแบบของไฟล์
* มักให้บริการกับเครื่องลูกข่ายเป็นหลัก
* โปรโตคอลสื่อสารที่ใช้คือ Network Protocol เช่น TCP/IP, CIFS (Windows),NFS (Unix)
* ความเร็วส่วนใหญ่อยู่ที่ 100 Mbps หรือ 1 Gbps ก็มี

Code:
ที่มา http://www.vcharkarn.com
Bot
Bot
<< IT.Management 51 >>
>

จำนวนข้อความ : 15
Join date : 10/03/2011

ขึ้นไปข้างบน Go down

SAN กับ NAS  ความแตกต่าง Empty Re: SAN กับ NAS ความแตกต่าง

ตั้งหัวข้อ  Pz- Wed Mar 23, 2011 4:05 pm

เจ๋งว่ะ

Pz-
<< IT.Management 51 >>
>

จำนวนข้อความ : 85
Join date : 21/01/2011
Age : 913
ที่อยู่ : Thailand

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ